เปิดคู่มือดูแลน้องหมา รู้ทันโรคของสุนัขมีอะไรบ้าง ?


หนึ่งสิ่งที่ทำให้คนเลี้ยงสุนัขรู้สึกกังวลใจอยู่เสมอ นั่นคืออาการป่วยที่ไม่รู้ว่าจะมาตอนไหนของเหล่าเจ้าตูบ ใครที่เป็นเจ้าของน้องหมาและมีความกังวลใจในเรื่องนี้ห้ามพลาด เพราะในบทความนี้เราได้รวบรวมโรคของสุนัขในแต่ละวัยมาบอกต่อ เพื่อใช้เป็นไกด์ในการดูแล รวมถึงเฝ้าระวังอาการอย่างเหมาะสม

ลูกสุนัข ช่วงวัยและโรคของสุนัขที่พบได้บ่อย

ลูกสุนัข คือสุนัขอายุตั้งแต่แรกเกิด จนถึงช่วงประมาณ 10 เดือน ซึ่งถือเป็นช่วงวัยที่ต้องการการดูแลและต้องระมัดระวังในเรื่องอาหารการกิน เพราะเป็นช่วงที่ต้องเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ซึ่งอาจป่วยได้ง่ายหากไม่มีการดูแลที่เหมาะสม

โรคที่พบได้บ่อยในวัยลูกสุนัข

  • โรคไข้สุนัข (Canine Distemper)

โรคของสุนัขที่เกิดจากเชื้อไวรัส Canine Distemper Virus (CDV) นับเป็นโรคติดต่อร้ายแรง พบได้บ่อยในสุนัขอายุ 3-6 เดือน โดยจะมีอาการไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร ตาแดง มีขี้ตาหรือน้ำตาเกรอะกรัง อาจมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนร่วมด้วย และอาจรุนแรงจนทำให้มีอาการทางระบบประสาท เช่น ตัวกระตุก หรือชักได้

แนวทางการป้องกันและรักษา: โรคไข้หัดสุนัขยังไม่มีวิธีรักษาที่เฉพาะเจาะจง แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการพาสุนัขไปรับวัคซีนป้องกัน โดยเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6-8 เดือน

  • โรคลำไส้อักเสบ (Canine Parvovirus)

เกิดจากเชื้อไวรัส Parvovirus อาการที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนของโรคนี้คือ สุนัขจะมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง มีการถ่ายเหลวเป็นน้ำหรือเลือด อุจจาระส่งกลิ่นเหม็นรุนแรง ซึ่งโรคลำไส้อักเสบหากป่วยแล้ว จะมีโอกาสเสียชีวิตค่อนข้างสูง และยังสามารถติดต่อกันเองในหมู่ลูกสุนัขได้ง่าย ในกรณีที่เลี้ยงรวมกันหลายตัว ซึ่งหากพบว่าน้องหมาตัวใดตัวหนึ่งป่วยเป็นโรคนี้ ควรทำการแยกออกมาจากน้องหมาตัวอื่น ๆ โดยเร็วที่สุด

แนวทางการป้องกันและรักษา: เช่นเดียวกับโรคไข้หัดสุนัข ที่ยังไม่มีวิธีการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจง แต่ให้ป้องกันด้วยการนำไปรับวัคซีนตามโปรแกรมฉีดที่สัตวแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 6-8 สัปดาห์

  • โรคหลอดลมอักเสบติดต่อในสุนัข (Kennel Cough)

เป็นลักษณะอาการที่ใกล้เคียงกับไข้หวัดของมนุษย์ ลูกสุนัขที่เป็นโรคนี้ จะมีภาวะหลอดลมอักเสบติดต่อ โดยจะมีอาการไอและมีเสมหะ รวมถึงอาการซึม มีอาการตาแดงร่วมด้วย โดยสามารถติดต่อกันในหมู่ลูกสุนัขผ่านละอองน้ำมูกและน้ำลาย

แนวทางการป้องกันและรักษา: หากมีอาการไม่รุนแรง แนะนำให้พาลูกสุนัขพักผ่อน ดื่มน้ำ และรับอาหารให้เพียงพอจนอาการทุเลาลง แต่ถ้าอาการเริ่มหนักขึ้น เพราะมีอาการทางปอดเข้ามาแทรกแซง ให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสมทันที ส่วนวิธีป้องกันก็สามารถพาไปรับวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 8 สัปดาห์เป็นต้นไป

สุนัขโตเต็มวัย ช่วงวัยและโรคของสุนัขที่พบได้บ่อย

สุนัขอายุ 10 เดือน ถึง 11 ปี ถือเป็นช่วงที่กำลังโตเต็มวัย มีการเรียนรู้พัฒนาการที่ชัดเจน ทั้งรูปร่างที่ตัวใหญ่และยาวขึ้น มีอุ้งเท้าและขาที่สมส่วน มีลักษณะทางกายภาพที่ชัดเจนตามสายพันธุ์ แต่ก็ยังมีโอกาสป่วยได้ไม่ต่างจากวัยลูกสุนัข

โรคที่พบได้บ่อยในสุนัขโตเต็มวัย

  • พยาธิหนอนหัวใจ (Dirofilaria immitis)

เป็นอาการป่วยที่มียุงเป็นพาหะของโรค ซึ่งตัวอ่อนของพยาธิจะอาศัยอยู่ในตัวยุง และเมื่อยุงกัดสุนัข ตัวอ่อนจะเข้าไปในร่างกายและกลายเป็นตัวโตเต็มวัย ซึ่งจะเข้าไปอาศัยอยู่ในหัวใจห้องขวาและหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปฟอกที่ปอด โดยพยาธิจะทำการชอนไช ทำลายเนื้อเยื่อหรืออุดตันหัวใจและหลอดเลือดได้

สามารถสังเกตว่าน้องหมาของคุณ ป่วยเป็นโรคของสุนัขโรคนี้หรือไม่ ด้วยการดูจากการไอ หากไอแห้ง เหนื่อยง่าย และมีอาการท้องมาน แนะนำว่าให้รีบนำไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน เพราะโรคนี้อาจรุนแรงและอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลย

แนวทางการป้องกันและรักษา: สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา หรือร่วมกับการผ่าตัด โดยฉีดยาฆ่าพยาธิ เพื่อไปกำจัดตัวโตเต็มวัยที่อาศัยอยู่ในร่างกายน้องหมา แต่ถ้ามีพยาธิหนอนหัวใจจำนวนมากก็จำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดเพื่อเอาออกแทน

  • โรคพิษสุนัขบ้า

โรคที่เกิดจาก Rabies Virus พบได้บ่อยในไทย สามารถติดกันผ่านสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด มีอาการที่แสดงอย่างชัดเจนผ่านนิสัยที่เริ่มเปลี่ยนไป หงุดหงิด กระวนกระวาย ก้าวร้าว แสดงอาการดุร้ายโดยการกัด หรือเข้าไปทำร้ายทุกอย่างที่ขวางหน้า ลิ้นห้อย น้ำลายไหลยืด ก่อนจะชัก เป็นอัมพาต และเสียชีวิตในที่สุด

แนวทางการป้องกันและรักษา: เป็นอีกหนึ่งโรคของสุนัขที่ยังไม่มีวิธีรักษาที่ชัดเจน แต่มีวิธีช่วยป้องกันได้ โดยการฉีดวัคซีน ตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป และรับวัคซีนต่อเนื่องตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

  • โรคพยาธิเม็ดเลือด

อีกโรคของสุนัขที่พบได้บ่อยในสุนัขโตเต็มวัย มีพาหะจากเห็บ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว 3 ชนิด คือ Babesia canis, Ehrlichia canis และ Hepatozoon canis อาการของสุนัขที่ป่วยด้วยโรคนี้ จะมีอาการโลหิตจางจากการที่เม็ดเลือดถูกทำลาย ผนังหลอดเลือดอักเสบ เลือดออกง่าย กำเดาไหลง่าย หรือมีจุดเลือดออกสีแดงตามผิวหนัง โดยเฉพาะตรงช่องท้อง ร่วมกับอาการเหงือกซีด

แนวทางการป้องกันและรักษา: สามารถรักษาได้โดยการให้ยาฆ่าพยาธิเม็ดเลือด และรักษาตามอาการอย่างต่อเนื่อง ส่วนวิธีป้องกันสามารถทำได้เพียงแค่ไม่ให้สุนัขของเรามีเห็บ โดยใช้วิธีฉีดยา ยาหยอดหลัง หรือยากิน ตามคำแนะนำที่เหมาะสมของสัตวแพทย์

สุนัขสูงวัย ช่วงวัยและโรคของสุนัขที่พบได้บ่อย

สุนัขสูงวัย คือน้องหมาใช่ช่วงอายุ 12 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่ไม่มีพลังงานมากเหมือนเมื่อก่อน ระบบร่างกายเสื่อมสภาพ เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือติดเชื้อได้ง่าย ทำให้ต้องระมัดระวังเรื่องน้ำและอาหารที่กินเข้าไป รวมถึงความสะอาด และการดูแลตามอาการให้เหมาะสม

โรคที่พบได้บ่อยในสุนัขสูงวัย

  • โรคไตวายเรื้อรัง

นับเป็นอีกโรคของสุนัขที่ที่พบได้มากในน้องหมาสูงวัย สาเหตุเกิดจากการที่ไตค่อย ๆ เสื่อมสภาพ ทำงานได้น้อยลง จึงทำให้ไม่สามารถกรองและขับของเสียได้ดีเท่าเดิม ส่งผลให้ร่างกายของสุนัขเกิดการสะสมของเสีย จนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งความน่ากลัวคือไม่สามารถสังเกตอาการเริ่มต้นได้ เพราะกว่าจะแสดงออกมา ไตก็ลดการทำงานไปมากกว่า 75% ซึ่งทำให้ร่างกายของน้องหมามีปัญหาสุขภาพอย่างชัดเจนไปแล้ว

แนวทางการป้องกันและรักษา: ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่จะประคองการรักษาไปตามอาการอย่างต่อเนื่อง ส่วนวิธีป้องกัน แนะนำให้เจ้าของพาสุนัขมาตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังและเริ่มแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที

  • โรคหัวใจ

พบได้ทั้งโรคลิ้นหัวใจไมทรัลเสื่อม (Myxomatous Valvular Degeneration) และโรคหัวใจโต (Dilated Cardiomyopathy) โดยโรคลิ้นหัวใจไมทรัลเสื่อมนั้นมักพบได้ในสุนัขพันธุ์เล็ก เกิดขึ้นจากลิ้นหัวใจไมทรัลที่ทำหน้าที่ปิดเปิดเลือดในหัวใจห้องบนซ้ายและห้องล่างซ้ายทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่ดี อาจเกิดเลือดคั่งที่หัวใจและปอด

ส่วนโรคหัวใจโต มักจะพบในสุนัขพันธุ์ใหญ่มากกว่า ลักษณะหัวใจมีขนาดพองตัว แต่กล้ามเนื้อหัวใจกลับบางลง ทำให้แรงบีบหัวใจลดลง มีอาการเลือดคั่งในหัวใจ ไม่สามารถนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเหมาะสม โดยอาการร่วมของทั้งสองโรค คืออาการเหนื่อยง่าย หอบ ไม่สามารถออกกำลังหรือทำกิจกรรมหนัก ๆ ได้ เพราะอาจเป็นลม ร่วมกับมีอาการไอ ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้เลย

แนวทางการป้องกันและรักษา: วิธีการรักษาคือการดูแลจากสัตวแพทย์อย่างใกล้ชิด เพิ่มเติมด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) และอัลตราซาวด์เพื่อหาสาเหตุให้ตรงจุด ส่วนวิธีป้องกัน คือให้พาสุนัขไปทำการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อประเมินและรับการวินิจฉัย ร่วมกับการรักษาที่เหมาะสม

หลังจากรู้แล้วโรคของสุนัขมีอะไรบ้าง แต่จะเข้าใจข้อมูลอย่างเดียวก็ไม่ได้ แต่ต้องรู้เท่าทันด้วยการตรวจเช็กสุขภาพน้องหมาเป็นประจำด้วย พร้อมดูแลเรื่องอาหารการกินให้เหมาะสม หากใครที่กำลังมองหาอาหารหมาป่วยที่ได้มาตรฐาน มีวัตถุดิบชั้นดี ถูกต้องตามหลักโภชนาการจากแบรนด์ชั้นนำ สามารถปรึกษาและเลือกซื้อได้เลยที่ PETClub อาณาจักรสินค้าสัตว์เลี้ยงที่จำหน่ายทั้งอาหารและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยงทุกประเภท จึงมั่นใจได้ว่าจะมีผลิตภัณฑ์อาหารสุนัข สูตรอาหารหมาป่วยให้เลือกซื้อได้อย่างปลอดภัยแน่นอน

 

ดูอาหารหมาเพิ่มเติม “คลิก


ข้อมูลอ้างอิง:

  1. อายุหมา อายุแมว เมื่อเทียบกับมนุษย์ ?. สืบค้นวันที่ 18 เมษายน 2567 จาก https://www.baanlaesuan.com/220046/pets/health/age-comparison
  2. Dog Health Issues: Common Conditions by Breed, Size, Age. สืบค้นวันที่ 18 เมษายน 2567 จาก https://www.pawlicy.com/blog/dog-health-issues/

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  และ  นโยบายคุกกี้